โรงกษาปณ์แห่งแรกของประเทศไทยสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในยุคที่ประเทศไทยกำลัง พัตนาและปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยพร้อม ๆ กับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ และการค้า
ในปี พ.ศ. 2401 รัชกาลที่ 4 ทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นและพระราชทานนามว่า " โรงกระสาปน์สิทธิการ " ซึ่งตั้งยู่บริเวณโรงทำเงิน พดด้วงด้านหน้าพระคลังสมบัติบริเวณมุมถนนใกล้กับทางออกประตูสุวรรณบริบาลด้านทิศตะวันออก ลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้นก่ออิฐเป็นปูนมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีทางขึ้นชั้นสอง อยู่ทางด้านหน้า มีประกาศใช้เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตได้เป็นครั้งแรก เป็นตราพระมหามงกุฎในวงจักรมี 5 ชนิดราคา คือ บาท กึ่งบาท สลึง เฟือง และ กึ่งเฟือง เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2403 โดยให้ใช้ควบคู่ไปกับเงินพดด้วง แต่ไม่โปรดเกล้าฯ ให้มีการผลิตพดด้วงเพิ่มขึ้นอีก ครั้นถึงปีพุทธศักราช 2405 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญดีบุก อัฐ และโสฬสเพิ่มขึ้น และผลิตเหรียญทองแดงซีก และ เสี้ยว เพื่อใช้แทนเบี้ยในปีพุทธศักราช 2409
ในช่วงเวลานั้น เศรษฐกิจของไทยมีความเจริญรุ่งเรืองพร้อม ๆกับ การขยายตัวด้านการค้ากับต่างประเทศ การผลิตเหรียญกษาปณ์เพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ จึงมีปัญหาผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ประกอบกับเครื่องจักรเดิมเริ่มเก่าและชำรุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้สั่งซื้อเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์เครื่องใหม่ชนิดขับ เคลื่อนด้วยแรงดันไอน้ำที่มีกำลังผลิตสูงขึ้นพร้อมทั้งสร้างโรง กระสาปน์สิทธิการขึ้นมาใหม่ให้กว้างขวางกว่าเดิมเพื่อรองรับความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์ที่มีจำนวนปริมาณเพิ่มมากขึ้น โรงกษาปณ์ กระสาปน์สิทธิการซึ่งเป็นโรงกษาปณ์แห่งที่ 2 ของไทยสร้างขึ้นบน บริเวณด้านทิศตะวันตกของประตูสุวรรณบริบาลตรงข้ามกับโรง กษาปณ์เดิม รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกอาคารรูปทรง สี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์วัด พระศรีรัตนศาสดาราม) พระราชพิธีสมโภชและเปิดโรงกษาปณ์ขึ้นเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2419 และเปลี่ยนตราเงินใหม่เป็นตราพระบรมรูปตรา แผ่นดินชนิดราคา บาทหนึ่ง สลึงหนึ่ง เฟื้องหนึ่ง ซึ่งเป็นเหรียญ กษาปณ์ไทยรุ่นแรกที่มีพระบรมรูปพระมหากษัตริย์บนหน้าเหรียญตาม แบบสากลนิยม อันเป็นรูปแบบหนึ่งที่ถือปฏิบัติต่อมาจวบจนปัจจุบัน
ความเจริญก้าวหน้าด้านการค้าของประเทศ ส่งผลให้ความต้องการใช้ เหรียญกษาปณ์เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่เครื่องจักรแรงดันไอน้ำที่มีอยู่เริ่ม ชำรุดเนื่องจากใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ถึง 25 ปี พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างโรง กระสาปน์สิทธิการแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณอันเป็นที่ตั้งของวังเจ้านาย 6 พระองค์ ซึ่งเรียกสถานที่นี้ว่า " วังสะพานเสี้ยว " ริมคลองหลอดด้าน ถนนเจ้าฟ้าทางทิศเหนือของท้องสนามหลวง โดยมีลักษณะเป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูน สูง 2 ชั้น มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก เมื่อ ย้ายโรงกษาปณ์ไปอยู่สถานที่แห่งใหม่แล้ว กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติคือ"หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า" ในปัจจุบัน พิธีเปิดโรงกษาปณ์แห่งที่ 3 อย่างเป็นทางการมีขึ้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2445 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น " กรมกระสาป์น สิทธิการ " ติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์เครื่องใหม่ ซึ่งทำงาน ด้วยกำลังไฟฟ้าสามารถผลิตเหรียญได้ประมาณวันละ 80,000 ถึง 100,000 เหรียญ โดยไม่ต้องทำการล่วงเวลา ส่วนเงินพดด้วงได้ โปรดเกล้าฯให้เลิกใช้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2451
เมื่อมีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติมาตราทองคำ รัตนโกสินทร์ศก 127 (พ.ศ. 2451) ได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 1 บาทตราพระบรมรูปตราไอราพต จากโรงกษาปณ์ปารีส จำนวน 1,036,691 เหรียญ แต่ไม่ทันได้ประกาศใช้ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน โดยตราไอราพตได้ใช้เป็นตราประจำแผ่นดิน เรื่อยมาจนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประเทศไทยได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โลหะที่ใช้ในการ ผลิตเหรียญกษาปณ์มีราคาสูงขึ้น จึงต้องลดส่วนผสมของโลหะเงินลงและผลิตธนบัตร ราคา 1 บาทออกใช้แทน เหรียญกษาปณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินนโยบายต่างๆ หลายประการ เพื่อประคองสภาวะการณ์ทาง เศรษฐกิจของประเทศให้สมดุลกับภาวะเศรษฐกิจโลกและป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่อาจ หลีกเลี่ยงได้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกเป็นไปอย่างกว้างขวางและรุนแรงจวบจนสิ้นรัชสมัยของพระองค์และต่อเนื่องไปถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ไขภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตเงินตราทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบฐานะของกรมกระสาปน์สิทธิการ ลงเป็นโรงงานขึ้นกับกรม ฝิ่นหลวง เหรียญที่ใช้ในรัชกาลนี้เป็นชนิดนิกเกิล 5 สตางค์ และชนิดทองแดง 1 สตางค์ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิต และต้องงดผลิตเหรียญกษาปณ์เป็นเวลานานถึง 6 ปี โดยมีเหรียญ เงิน 50 สตางค์ และ 25 สตางค์ ตราพระบรมรูปช้างยืนแท่นเป็นเหรียญประจำรัชกาล ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงงานกษาปณ์ขึ้นใหม่ เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้เอง เมื่อปีพุทธศักราช 2476 โดยตั้งขึ้นเป็น " แผนกกษาปณ์ " และโอนไปสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น " กองกษาปณ์ " สังกัดกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ช่วงเวลานั้นประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2482 รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก อันเนื่องมาจากสินค้ามีราคาสูง ด้วยการนำเหรียญเงิน 2 สลึง ในคลังมา หลอมและผลิตเหรียญเงิน ราคา 20 สตางค์ 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ ขึ้นใช้แทนการสั่งผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำโลหะเงินมาผลิตเป็นเงินปลีก และเมื่อโลหะเงินและทองแดงมีราคาสูงขึ้น จึงได้นำ ดีบุกมาใช้ผลิตแทนเหรียญประจำรัชกาลนี้คือเหรียญดีบุกตราพระครุฑพ่าห์
โรงกษาปณ์แห่งที่ 4 ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 11 ไร่เศษมีบริเวณ กว้างขวางพอที่จะสามารถติดตั้งเครื่องจักรอันทันสมัยได้อีกหลาย เครื่อง โดยสร้างเสร็จและเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2515 สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้ได้ประมาณวันละ 2 ล้านเหรียญหรือ 750 ล้านเหรียญต่อปี ได้มีการปรับเปลี่ยนลวดลายด้านหลังของเหรียญหลายครั้งให้สื่อความหมายชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น โดยที่ยังคงสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ไว้เช่นเดิมคือด้านหน้าของเหรียญ ทุกชนิด ราคาเป็นพระบรมรูปรัชกาลที่ 9 เพื่อสื่อความหมายถึงสถาบันพระ มหากษัตริย์ และมีข้อความว่า " ประเทศไทย " เพื่อสื่อความหมายถึงสถาบันชาติและมีรูปโบราณสถานสำคัญทางศาสนาอันเป็น เอกลักษณ์ของชาติ เพื่อสื่อความหมายถึงสถาบันศาสนา เหรียญรูป แบบใหม่นี้มีการผลิตออกใช้หมุนเวียนเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบันโดยเปลี่ยนเลขปีพุทธศักราชบนเหรียญตามปีที่ผลิต
การปรับเปลี่ยนรูปแบบเหรียญกษาปณ์ ครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 2529 เมื่อรัฐบาลมีนโยบายผลิตเหรียญ กษาปณ์ชุดใหม่ทุกชนิดราคาโดยทำการปรับปรุง ขนาด และรูปแบบรวมทั้งกำหนดให้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ หมุนเวียน ชนิดราคา 1 สตางค์ ถึงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ชนิดราคา 10 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรกปัจจุบัน มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคาด้วยกัน ได้แก่ เหรียญราคา 10 บาท, 5 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ ในรัชกาลนี้มีการผลิต " เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก " เพื่อเป็นที่ระลึกและบันทึกเหตุการณ์วาระที่สำคัญเสมือนเป็นการ บันทึกประวัติศาสตร์ลงบนหน้าเหรียญขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2504 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด้จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จนิวัติพระนครหลังจากเสด็จพระราชดำเนินเยือน สหรัฐอเมริกา อังกฤษและประเทศภาคพื้นยุโรปและได้ทรงนำชื่อเสียงและเกียรติยศมาสู่ประเทศไทย ส่วนเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดเหรียญขัดเงา ได้ผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2525 ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของโรงกษาปณ์ไทยนอกจากการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ แล้วยังมีการผลิตเหรียญกษาปณ์จากโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับองค์กรต่างประเทศ เช่น การจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกปีเด็กสากล ในปีพุทธศักราช 2525 และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกอนุรักษ์ ธรรมชาติและสัตว์ป่า ในปีพุทธศักราช 2540 เป็นต้น
การพัฒนาเทคโนโลยีและความเจริญทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น อย่าง รวดเร็วทำให้มีการติดต่อค้าขายกันทั่วโลก และการหมุนเวียนของเงิน ตรา มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์ใน ระบบเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จึงจำเป็นต้องมีการ เพิ่ม กำลังการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์ หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยปรับปรุงโรงกษาปณ์ เพื่อติดตั้งเครื่อง จักรที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น และมีเป้าหมายให้สามารถรองรับผลิตเหรียญ กษาปณ์ได้ประมาณ 1,000 ล้านเหรียญต่อปีแต่เนื่องจากโรงกษาปณ์ ที่ ริมถนนประดิพัทธตั้งอยู่ในย่านชุมชน มีพื้นที่จำกัดไม่สามารถขยาย โรงงานได้ประกอบกับมลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิตก่อให้เกิดผล กระทบแก่ชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบโรงงาน
รัฐบาลมีนโยบายย้ายโรงกษาปณ์ออกไปอยู่นอกเมืองที่มีพื้นที่ กว้างขวางและห่างไกลชุมชน จึงมีมติเห็นชอบให้สร้างโรงกษาปณ์แห่งใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งสถานที่ก่อสร้างใหม่นี้อยู่ที่บริเวณโรงงาน ทอกระสอบเดิมของกระทรวงการคลัง ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 34 - 35 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ ประมาณ 126 ไร่
การย้ายโรงกษาปณ์ออกไปอยู่นอกเมืองที่มีพื้นที่กว้างขวาง เพื่อป้องกันและลดปัญหามลภาวะเป็นพิษจากกระบวนการผลิต และ รองรับกำลังการผลิตที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้สามารถ ผลิตเหรียญกษาปณ์ ได้เพียงพอกับความต้องการใช้ในปัจจุบัน และ ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต
กองกษาปณ์ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ : 02-834-8300 Email : rtm@treasury.go.th